⚙️⚙️🤖💻🛠️ 2.4 การตรวจหาข้อผิดพลาดของโปรแกรม
ในการเขียนโปรแกรมใดๆ หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น หรือโปรแกรมไม่เป็นไปตามความต้องการ จะต้องตรวจสอบความผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยการตรวจสอบการทำงานทีละคำสั่ง เมื่อพบจุดที่ทำให้โปรแกรมไม่เป็นไปตามต้องการให้แก้ไขข้อผิดพลาดนั้น จนกว่าจะได้โปรแกรมตามที่ต้องการ
ตัวอย่าง การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม
ปุ้มต้องการเขียนโปรแกรมตรวจสอบจำนวนตั้งแต่ 5-100 ว่ามีตัวเลขกี่จำนวนที่หาร 5 ลงตัว ปุ้มจึงเขียนคำสั่งโปรแกรมดังนี้
แต่เมื่อทดสอบโปรแกรมที่เขียนขึ้นแล้วพบว่าโปรแกรมไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ตามที่ต้องการได้ดังภาพ
หลังจากที่ทดสอบโปรแกรมแล้วพบว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นมีข้อผิดพลาด คือ โปรแกรมแสดงตัวเลขเริ่มจาก 10 ซึ่งในความเป็นจริงจะต้องเริ่มที่ 5 ดังนั้นจึงต้องทำการตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมทีละขั้นตอนดังนี้
อธิบายการทำงานของโปรแกรม
1.ล้างข้อมูลในรายการ list_number แล้วกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปร number มีค่าเท่ากับ 5
2.สั่งให้โปรแกรมทำงานตามเงื่อนไขที่ว่า ปรับตัวเลขขึ้น 5 จำนวน จากนั้นนำตัวเลขหารด้วย 5 แล้วเหลือเศษเท่ากับ 0 ให้แสดงตัวเลขลงในรายกา list_number แล้วปรับค่าตัวเลขขึ้นอีก 5 จำนวนทำซ้ำจนกระทั่ง number น้อยกว่า 100 จึงหยุด
3.แสดงผลที่หน้าจอว่า 5 ถึง 100 มีตัวเลขกี่จำนวนที่หาร 5 ลงตัว
จากการวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานทีละขั้นตอนแล้วพบว่ามีคำสั่งที่เกิดข้อผิดพลาดคือ
เนื่องจากคำสั่งนี้เป็นการสั่งให้ปรับตัวเลขขึ้นห้าจำนวนก่อนแล้วจึงนำตัวเลขมาหารห้าดังนั้นจึงทำให้ตัวเลขตัวเลขแรกที่จะนำมาคำนวณคือเลข 10 ฉะนั้นจึงต้องแก้ไขโปรแกรมนำตัวเลขมาคำนวณก่อนแล้วจึงปรับตัวเลขขึ้นห้าจำนวนดังภาพ
หลังจากแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องทดสอบการทำงานของโปรแกรมอีกครั้งว่า โปรแกรมมีข้อผิดพลาดอีกหรือไม่ ถ้ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นอีกให้แก้ไขจนกว่าโปรแกรมจะไม่มีข้อผิดพลาด ซึ่งผลลัพธ์ของโปรแกรมหลังจากแก้ไขข้อผิดพลาดแล้ว เป็นดังนี้